วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (ผอ.สคทช.) พร้อมด้วย นายณัฐวุฒิ เปลื้องทุกข์ ผู้ช่วย ผอ.สคทช. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สคทช. ร่วมให้การต้อนรับ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมคณะฯ ในการลงพื้นที่ติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานตามภารกิจของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อนภารกิจ คทช. ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายหลังจากที่ได้รับการอนุญาตเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ในพื้นที่ และการยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เกิดการสร้างมูลค่าจากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างสูงสุดในพื้นที่ที่รัฐจัดให้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ คทช. จังหวัดน่าน พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่ คทช. ต้นแบบ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่จริม และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟสวนยาหลวง ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดให้เกษตรกรจนประสบความสำเร็จ เกษตรกรสามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีกำหนดการลงพื้นที่ฯ ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมี ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานฯ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่จริม วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่จริม และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟสวนยาหลวง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

นายภูมิธรรมฯ กล่าวโดยสรุปว่า รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในด้านที่ดินทำกิน เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนผู้ยากไร้ ได้มีที่ดินทำกินและได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในด้านต่าง ๆ ทั้งแหล่งน้ำ ไฟฟ้า ถนน และการตลาด จึงได้มอบนโยบายให้ สคทช. และทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือเพื่อเร่งรัดขับเคลื่อนการจัดที่ดิน เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ คทช. ได้รับการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ สำหรับการประกอบอาชีพ รวมถึงขยายผลการดำเนินงาน และต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งพื้นที่จังหวัดน่าน มีการส่งเสริมการปลูกกาแฟ และชุมชนมีความพร้อมที่จะต่อยอดพัฒนาไปสู่การแข่งขันทางการค้าในอนาคต ภายใต้การรวมกลุ่มของวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการยกระดับสินค้าเพื่อไปสู่ตลาดโลก จำเป็นต้องมีการพัฒนาสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงต้องเร่งรัดกระบวนการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP และการรับรองสินค้ากาแฟตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ปลูกและผู้ประกอบการกาแฟในพื้นที่ คทช. ช่วยยกระดับรายได้ท้องถิ่น ต่อไป

ดร.รวีวรรณฯ ได้กล่าวรายงานสรุปภาพรวมผลการดำเนินงานกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ คทช. ว่าสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คทช. ได้เร่งรัดขับเคลื่อนการจัดที่ดินทำกินชุมชน เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีสิทธิทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้ความมั่นใจในการประกอบอาชีพ สร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดยมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายทั้งสิ้น 1,582 พื้นที่ ในเนื้อที่ 5.9 ล้านไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 2.4 ล้านไร่ มีการจัดคนเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินแล้วกว่า 85,000 ราย มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพแล้ว 312 พื้นที่ ใน 66 จังหวัด ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการจัดหาตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 21 หน่วยงาน เพื่อร่วมพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ BEDO เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนาศักยภาพชุมชน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคเอกชน อาทิ SCG และมีแผนที่จะร่วมมือกับบริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ในอนาคต พร้อมกันนี้ สคทช. ยังได้พัฒนาตราสัญลักษณ์เครื่องหมายผลิตภัณฑ์จากชุมชน คทช. รับรองว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้น มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายป่าและถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ รวมถึงการได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐอย่างถูกต้อง เพื่อเตรียมการรองรับระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EUDR ที่มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 โดยจะบังคับกับกลุ่มสินค้าควบคุม 7 กลุ่ม ได้แก่ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง ไม้ และโค รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง ได้กำหนดแผนงานในการประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันผลกระทบจากการควบคุมสินค้าภายใต้ EUDR ต่อประชาชนในพื้นที่ คทช. โดยจะขยายผลความสำเร็จจากการส่งเสริมผลิตภัณฑ์กาแฟในพื้นที่ คทช. จังหวัดน่าน ไปสู่พื้นที่ คทช. อื่นๆ ต่อไป

Slide
Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

previous arrow
next arrow

epetitions

complaint

aerial phot interpretation

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้รับการประเมินเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ

ผลการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี